อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. และการติดป้าย

Last update:2023-02-13

พ.ร.บ. รถยนตร์ ได้กำหนดเป็นอัตราเบี้ยประกันคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ บริษัทประกันไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนด


อัตราเบี้ยประกันภัยคงที่ ไม่รวมภาษีอากร สำหรับการประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535


รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์


  • รถจักรยานยนต์ ส่วนบุคคล
    ขนาดเครื่องยนต์ บาท/ปี
    ไม่เกิน 75 ซี.ซี.150
    เกิน 75 ซี.ซี.ไม่เกิน 125 ซี.ซี.300
    เกิน 125 ซี.ซี. ไม่เกิน 150 ซี.ซี.400
    เกิน 150 ซี.ซี.600
    รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน600
    รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง1,100
    รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง2,050
    รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง3,200
    รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง3,740

  • รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 600
    ขนาดเครื่องยนต์ บาท/ปี
    รถจักรยานยนต์300
    รถสามล้อ500
    รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน


วิธีติดป้าย พ.ร.บ. รถยนต์

ผู้ขับขี่บางคนยังเข้าใจผิด และมักค้นหาการติดพรบหน้ารถ หรือ ที่ติดพรบหน้ารถ แท้จริงแล้วป้ายพรบ ไม่ต้องติดหน้ารถ แต่เป็นป้ายภาษีรถ หรือเรียกอีกอย่างว่าป้ายวงกลมต่างหากที่ต้องติด ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก จะได้รับหลังจากต่อพรบ พร้อมชำระภาษีรถประจำปีเรียบร้อยแล้ว และผู้ขับขี่จำเป็นต้องแสดงป้ายภาษีโดยแปะไว้หน้ากระจกรถ ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ปี พ.ศ.2522 ตามมาตรา 11 ระบุไว้ว่า “เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้ารถ โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีออกด้านนอกรถ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตรกรรม และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ติดในที่ที่สามารถมองเห็น ข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีได้ชัดเจน บทกำหนดโทษตาม มาตรา 60 อัตรา โทษปรับไม่ควรต่ำกว่า 200 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 บาท”


หาก พ.ร.บ. หมดอายุเป็นเวลานาน

เมื่อพรบ ขาดต่อเป็นเวลานาน 3 ปี จะส่งผลให้เลขทะเบียนรถคุณถูกระงับด้วย คุณจะต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก อีกทั้งต้องยื่นชำระภาษีรถคงค้างย้อนหลังด้วยค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

Back to home